โบราณสถานและโบราณวัตถุ
พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันอย่างทั่วไปว่า ” พระนอนวัดป่าประดู่ ” ประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าประดู่ ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีความยาว ๑๑.๙๕ เมตร ลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่วัด เมื่อพิจารณาดูพุทธลักษณะแล้ว เฉพาะในส่วนพระพักตร์ลังฆาฎิน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น (อู่ทองยุคที่ ๓) พระพุทธไสยาสน์วัดป่าประดู่นี้ ไสยาสน์ในลักษณะตะแคงซ้ายเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองระยองมาแต่โบราณ ดังนั้นพระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นที่เลื่องลือมาช้านานในด้านความศักดิ์สิทธิ์เป็นอันมาก
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดป่าประดู่ ในเขตเทศบาลเมือง ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เดิมองค์พระตั้งอยู่กลางแจ้ง ต่อมามีการสร้างพระวิหารครอบเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๔
“วัดป่าประดู่” สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติความเป็นมาก่อนสร้างวัด ประมาณเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ
อุปัชฌาย์เทียนเดิมจำพรรษาอยู่ที่
วัดเนิน (หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดอินทรสมบัติ ปัจจุบันรวมกับวัดลุ่ม) ได้มาพบสถานที่แห่งนี้เป็นวัดร้าง มีต้นตะเคียนเป็นจำนวนมาก มีซากวัดที่เหลือแต่
ซากโบสถ์ ซากพระพุทธรูปปางไสยาสน์ และ
ซากองค์พระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ วัดป่าประดู่แห่งนี้จึงเคยมีชื่อเดิมว่า
วัดป่าเลไลยก์ อุปัชฌาย์เทียนจึงได้มาจำพรรษาเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่นี่ บรรดาชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงพากันศรัทธาเลื่อมใสในท่านจึงชักชวนกันสร้างกุฏิถวายและร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดนี้จนเจริญสืบมา ต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับนามหมู่บ้านที่วัดตั้งอยู่คือ ตลาดท่าประดู่
อีกทั้งเพราะมีต้นประดู่ใหญ่อยู่ภายในวัดเป็นจำนวนมาก (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงต้นเดียวตรงปากประตูทางเข้าวัด) และเพื่อมิให้ชื่อวัดพ้องกับวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยจากเหตุผลดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น
“วัดป่าประดู่” ปัจจุบัน พระพุทธรูปทั้งสององค์ได้รับการบูรณะไว้ จึงถือเป็นพระเก่าแก่คู่บ้านเมืองของระยองแห่งหนึ่ง วัดได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ปัจจุบัน กำลังก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่สวยงาม วัดป่าประดู่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชุมชนในการปฏิบัติศาสนกิจ และพิธีการทางศาสนาของประชาชนในเมืองระยอง
ที่วัดป่าประดู่ มีพระพุทธรูปนอนตะแคงซ้ายที่เก่าแก่ เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่แปลกที่สุดในประเทศไทย โดยปกติแล้ว เมื่อมีการสร้างองค์พระปางสีหไสยาสน์ มักจะสร้างประทับอยู่ในท่านอนตะแคงขวา แต่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าประดู่สร้างในท่านอนตะแคงซ้าย มีความยาว ๑๑.๙๕ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร ขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ พระครูสมุทรสมานคุณ (แอ่ว) อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณะองค์พระส่วนที่ชำรุดแล้วปิดทองเสียใหม่มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นการสร้างตามพระพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้ากระทำยมกปาฏิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ชม โดยมีพระพุทธนิมิตแสดงอาการอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าเป็นคู่ๆ เมื่อถึงอิริยาบถไสยาสน์จึงผินพระพักตร์เข้าหากัน เป็นการนอนตะแคงซ้ายและขวาในลักษณะเดียวกัน ผู้สร้างคงเจตนาสร้างให้มีนัยของพุทธปาฏิหาริย์ดังกล่าว
จึงสร้างเป็นพระนอนตะแคงซ้าย องค์พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าประดู่ มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ มีการหนุนพระเศียรด้วยหัตถ์ซ้าย สังเกตจากพระเกศ ไรพระศก จีวรแล้ว น่าจะอยู่ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ดูแลรักษาอย่างดี วัดป่าประดู่ ได้รับการยกฐานะเป็น
พระอารามหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ อยู่คู่บ้านคู่เมืองระยอง และมีงานสมโภชใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นประจำทุกปี
พระป่าเลไลยก์
พระป่าเลไลยก์ก็เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่มากับวัดป่าประดู่ เช่นเดียวกับพระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่งห้อยพระบาทแบบพุทธศิลป์สมัยทวารวดีที่พบอยู่ทั่วไป พระพุทธรูปองค์นี้มีความสูงจากพระบาทจรดพระเกตุมาลาได้ ๖.๐๒ เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ลักษณะของพระพุทธรูปน่าจะเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้น (อู่ทองยุคที่ ๒) พระป่าเลไลยก์องค์นี้ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถเดิม เป็นที่มาของนามวัดแต่แรกว่า ” วัดป่าเลไลยก์ ” เนื่องจากพระอุโบสถเก่าชำรุดทรุดโทรมมากและคับแคบมาก จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ ในสมัยราชการที่ ๕ พระอุโบสถเดิมที่ประดิษฐานพระป่าเลไลยก์นี้ มีวิหารทิศขนาดเล็กรายรอบทั้ง ๔ ทิศด้วย (ปัจจุบันมีปรากฏอยู่ ๓ ทิศ ขาดทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางเข้าด้านหน้าวิหาร) ทิศทั้ง ๔ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชั
3.อุโบสถเก่าวัดโขด (ทิมธาราม)
ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่ามาอนุมาพร้อมกับวัด ซึ่งในสมัยนั้นคงไม่นิยมทำซุ้มประตูและหน้าต่าง อุโบสถหลังนี้จึงไม่มีซุ้มประตูหน้าต่างกระเบื้องหลังคาเป็นกระเบื้องว่าว เข้าใจว่าคงจะเปลี่ยนแทนกระเบื้องดินเผาแบบเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม และไม่สามารถหาแบบเดิมมาทดแทนได้ สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในระยอง ซึ่งจากปากคำบอกเล่ากันมาว่ากันว่าวัดโขดหินทิมธารามนี้สร้างขึ้นเมื่อราว ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทางกรมศิลปากรแจ้งว่าวัดโขดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2113 สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากที่เสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งแรกหลังคาอุโบสถมุขลด ๒ ชั้น ช่อฟ้าใบระกำชำรุดไปบ้าง ทำด้วยไม้กัดเกราทนทามมาก โดยเฉพาะช่อฟ้าที่ทำด้วยไม้กันเกรานั้นแกะสลักอย่างสวยงามปัจจุบันมีสภาพหักชำรุด เครื่องบนเป็นไม้เสมาโดยรอบเป็นหินทรายแดงพังทลายกองทับทมกันอยู่ พื้นอุโบสถเป็นศิลาแลง และพบวัตถุโบราณหลายชนิด เช่น เงินพดด้วง แหวงเงิน แหวนทอง กระปุกขนาดเล็ก ลูกปัด เป็นต้น
4.วัดบ้านเก่า (ทองธาราม)
ตามทางหลวง หมายเลข ๓๑๓๘ สายระยอง-บ้านค่าย ห่างจากระยอง ประมาณ ๕ กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปทางทิศตะวันออกเป็น ทางเข้าหมู่บ้าน ชื่อ ” บ้านเก่า ” ผ่านหมู่บ้านบ้านเก่าจนสุด ทางก่อนข้ามพะพานข้ามแม่น้ำระยอง ทางขวามือเป็น ที่ตั้งวัดบ้านเก่า สภาพภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม วัดตั้งอยู่ ริมแม่น้ำระยองทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ตัวหมู่บ้าน รวมถึงวัดเป็นที่สูงหรือที่ดอนท่ามกลางทุ่งนา ภายในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น และวัดยังมีบริเวณกว้างขวาง เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดระยองดังตำนานปรากฏในประวัติการเดินทัพของพระยาวชินปราการ และในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ เล่าสืบต่อกันมาว่า สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีและขอมยังเรืองอำนาจอยู่สมัยนั้นมีวัดที่เก่าแก่ คือวัดละหารใหญ่และวัดกระซัง เป็นวัดร้าง) วัดบ้านเก่าต่อมาได้ถูกขอมรุกราน ผู้คนพากันอพยพหนีไปอยู่จังหวัดนครราชศรีมาวัดจึงถูกทอดทิ้งไม่มีคนดูแล วักจึงร้าง จนมีสัตว์ป่ามาอยู่อาศัยในอุโบสถ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งบูรณะวัดบ้านเก่า ซึ่งเวลานั้นเรียกกันว่า ” วัดน้ำวงเวียนตะเคียนเจ็ดต้น ” สิ่งที่ยังปรากฏอยู่คือ อุโอสถเก่า เจดีย์เก่าและหอไตรกลางน้ำประวัติความเป็นมาวัดบ้านเก่าทองทารามเป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดระยอง สร้างขึ้นสมัยสุโขทัยครั้งขอมยังมีอำนาจ มีพระผู้ใหญ่เล่าว่าถูกพวกขอมรุกราน พระสงฆ์จึงอพยพหนีไปอยู่จังหวัดนครราชสีมา วัดจึงถูกทิ้งร้าง ต่อมามีผู้กลับมาบูรณะวัดใหม่ เรียกกันในสมัยนั้นว่า วัดน้ำวงเวียนตะเคียนเจ็ดต้น เจ้าอาวาสองค์แรกซึ่งเป็นผูมาบูรณะวัดคือ ท่านพ่อครุฑหลักฐานที่พบหอไตรกลางน้ำเป็นเรือนไทยไม่มีฝากั้น สร้างไว้กลางสระน้ำหน้าบันจำหลักลายเทพพนม เชื่อว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๑๕ พระอุโบสถหลังเก่าก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ลดมุข ๒ ชั้น มีช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์ทำด้วยไม้ ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ส่วนหลังเก่าอนุรักษ์ไว้ ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อันใดสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๑๖จากการขุดพื้นพระอุโบสถหลังเก่าเพื่อทำใหม่ พบว่าใช้ศิลาแลงทำฐานราก ทั้งยังได้พบแหวนเงิน ทอง เงินพดด้วง กระปุกขนาดเล็ก ลูกปัด ฯลฯ และได้พบพัทธสีมาหินแกรนิต หินทรายแดงรวมอยู่ด้วยเจดีย์ฐานสิงห์สี่เหลี่ยม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ เมื่อครั้งยอดเจดีย์พังลงมา ได้พบพระทองคำ และตะลุกพุกภายในเจดีย์
