บุคลสำคัญทางวัฒนธรรม
1.พระมหารัชชมังคลาจารย์ ( นิท . เทสกเถร เทศ วิทยานุกรณ์ )เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระมหารัชชมังคลาจารย์ ผู้ผ่านชีวิตจากคนบ้านนอกธรรมดา ชาวอำเภอแกลง เข้าไปอยู่เมืองหลวงเพื่อการศึกษา แล้วโชคชะตาได้ชักนะให้ได้เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สร้างวัดธรรมยุตในจังหวัดระยอง รวม ๙ วัด คือ
๑ วัดจุฬามุนี ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง
๒ วัดตรีรีตนาราม ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง
๓ วัดสนามรัตนาวาส ตำบลชากพง อำเภอแกลง
๔ วักสารนาถธรรมาราม ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง
๕ วัดสามัคคีคุณาวาส ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย
๖ วัดศรีมโนภาส ตำบลแกลง อำเภอเมืองระยอง
๗ วัดคีรีภาวนาราม ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง
๘ วัดโสภณวนาราม ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
๙ วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง
ผลงานนิพนธ์หนังสือ
๑ สังเวชนียสถานในอินเดีย
๒ ปวัติธรรมภาค ๑ – ๒ – ๓
๓ สุภาษิตจีนตกวีนิพนธ์
๔ ทัสนานุสร
๕ ธัมมิกวัตร
มรณภาพ
พระมหาราชมังคลาจารย์ได้เริ่มเจ็บป่วยกระเสาพกระแสะเรื่อยมา ตั้งแต่ปี พ . ศ . ๒๕๐๗ ด้วยโรคทางเดินปัสสาวะ ภายหลัง ๓ ปีต่อมาตรวจพบเชื้อมะเร็งด้วยทั้งยังเป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีอาการจุกเสียด แน่น อ่อนเพลีย ฉันภัตตาหารได้น้อยต้องเข้ารักษาอาการในโรงพยาบาลหลายครั้ง ในที่สุดก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๑๐ โรงพยาบาลมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ ๘๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๓ วัน พรรษา ๖๑ พระราชอริยคุณาธาร ( มหาสุวณ . ณเถร หล่ำ ยั่งยืน )อดีตเจ้าคณะจังหวัดระยองชาติภูมิพระราชอริยคุณธาร ( หล่ำ ยั่งยืน ) เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ณ บ้านเพลงช้างเผือก ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๔๓๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด สัมฤทธิศก ( จ . ศ . ๑๒๕๐ ) บิดาชื่อขุนคลังรัตน ( แดง ยั่งยืน ) มารดาชื่อนางหอย ยั่งยืน มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ๗ คน คือ
๑ . เป็นหญิง ชื่อแสง
๒ . เป็นหญิง ชื่อสาย
๓ . เป็นหญิง ชื่อเหรียญ
๔ . เป็นหญิง ชื่อเที่ยง
๕ . เป็นชาย ชื่อเหล
๖ . เป็นชาย ชื่อหล่ำ ( พระราชอริยคุณาธาร )
๗ . เป็นชาย ชื่อเหลี่ยม ( ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗ ขวบ)
การศึกษา
เมื่อเยาว์วัยได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัดพลงช้างเผือก พออายุได้ ๑๓ ปี ไปเรียนต่อที่วัดโพธิ์ทองพุทธาราม ถึง พ . ศ . ๒๔๔๖ จึงสำเร็จการศึกษาชั้นมูลฐาน ตามหลักสูตรของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ( ม . ร . ว . ชื่น สุจิต . โต ) สมัยที่ยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระสุคุณคณาภรณ์และเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี อำนวยการตั้งขึ้น ต่อมาได้ศึกษาต่อตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการจนจบหลักสูตรประโยคประถมศึกษา หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุ ๑๖ ปี เริ่มรับราชการเป็นเสมียนฝึกผัดอยู่ที่ศาลยุติธรรมเมืองแกลง พออายุครบ ๑๘ ปี ก็ได้รับบรรจุเป็นเสมียนอยู่ที่ศาลยุติธรรมเมืองแกลง ทำงานอยู่ ๔ ปี จึงลาออกจากราชการเพื่ออุปสมบท
อุปสมบท
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๔๕๑ ณ พัทธสีมาวัดพลงช้างเผือก ตำบลวังหว้า ( ปัจจุบันขึ้นกับตำบลทางเกวียน ) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
การศึกษาระหว่างอุปสมบทเล่าท่องสวดมนต์จบเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน มนต์ผูกต่าง ๆ ถึงภาณยักษ์และปาติโมกข์ กับทั้งได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉานสามารถอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี
ตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างอุปสมบท
๑ . เป็นเจ้าอาวาสวัดพลงช้างเผือก และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อ พ . ศ . ๒๔๕๗
๒ . เป็นรองเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อ พ . ศ . ๒๔๕๘
๓ . เป็นเจ้าคณะหมวดวังหว้า เมื่อ พ . ศ . ๒๔๕๙
๔ . เป็นครูใหญ่โรงเรียนแกลง ตั้งแต่ พ . ศ . ๒๔๖๐ ถึง พ . ศ . ๒๔๘๔
๕ . เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ . ศ . ๒๔๗๕
๖ . เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ . ศ . ๒๔๗๖
๗ . เป็นเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ . ศ . ๒๔๗๖
๘ . เป็นกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๔๗๘
๙ . เป็นผู้อุปการะโรงเรียนประจำอำเภอแกลง เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๔๘๕
๑๐ . เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ฑ . ศ . ๒๔๘๗
๑๑ . เป็นเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ . ศ . ๒๔๘๗
สมณศักดิ์
๑ . เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูสังฆการบูรพทิศ ( ปั้น ) เจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อ พ . ศ . ๒๔๕๘
๒ . เป็นพระปลัด เลื่อนจากฐานานุกรมเดิม เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๐
๓ . เป็นพระครูเจ้าคณะแขวง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๗๖
๔ . เป็นพระครูสัญญาบุตรที่พระครูสังฆการบูรพทิศ ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ . ศ . ๒๔๗๘
๕ . เป็นพระครูเจ้าคณะจังหวัดชั้นโท เมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๗
๖ . เลื่อนเป็นพระครูเจ้าคณะจังหวัดชั้นเอก เมื่อ พ . ศ . ๒๔๙๒
๗ . เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระอริยคุณธราจารย์ บริหารระยองเขตต์สังฆปาโมกข์ ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ . ศ . ๒๔๙๓
๘ . เป็นพระราชาคณะชั้นราชอริยคุณาธาร บูรพชลธีสมานคุณวิบุลครกิจสุนทรยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ . ศ . ๒๕๐๔
ผลงานด้านพระศาสนาและสาธารประโยชน์
๑. สร้างอุโบสถวัดพลงช้างเผือกสำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ . ศ . ๒๔๕๙
๒. สร้างหอสามัคคีธรรมวัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๓
๓. เป็นผู้อำนวยการสร้างถนนจากวัดพลงช้างเผือก ตัดตรงไปถึงปากน้ำประแสร์ ยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๘
๔. สร้างกุฎีและบูรณปฏิสังขรณ์กุฎีที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้เป็นถาวรวัตถุต่อไป
๕. สร้างเมรุ ( ณาปนสถาน ) ที่วัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ . ศ . ๒๕๐๕ เป็นเงิน ๗๔ , ๐๐๐ บาท
๖. สร้างศาลาเพื่อเป็นที่พักผู้เดินทางหลายแห่ง
๗. เป็นผู้อำนวยการสร้างสะพานเพื่อสาธารณะประโยขน์หลายแห่ง
๘. บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวักป่าประดู่ โดยเปลี่ยนจากกระเบื่องซีเมนต์เป็นกระเบื้องเคลือบ ทาสีเพดานให้สวยงามยิ่งขึ้น และลงรักปิดทองพระประธานประตูหน้าต่างเสยใหม่
๙. สร้างเมรุ ( ณาปนสถาน ) ที่วัดป่าประดู่ ๙๐ , ๐๐๐ บาท
๑๐. บูรณปฏิสังขรณ์วิหารเก่าแก่ของวัดป่าประดู่ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ให้มั่งคงแข็งแรงและสวยงามกว่าเดิม
๑๑. สร้างซุ้มประตูและกำแพงวัดป่าประดู่ เป็นเงินประมาณ ๒๐๐ , ๐๐๐ บาทเศษ
๑๒. สร้างกุฏิและบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิเก่าที่วัดป่าประดู่ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้คงสภาพดียิ่งขึ้น
ผลงานด้านการศึกษา
๑. เป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงเรียนแกลง ” วิทยาสถาวร ” และเป็นครู่ใหญ่มาตั้งแต่ พ . ศ . ๒๔๖๐ ถึงวันที่ ๔ เมษายน พ . ศ . ๒๔๘๕ จึงได้ลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ เพราะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัด และต้องไปประจำอยู่ที่วัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
๒. ชักชวนประชาชนให้ช่วยกันบริจาคทรัพย์สินสร้างหอประชุมโรงเรียนแกลง ” วิทยาสถาวร ” มีชื่อว่า ” หอประชุมอริยคุณธราจารย์ ”
๓. เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้อุปการะจัดตั้งโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ . ศ . ๒๔๗๗
๔. สร้างอาคารเรียนโรงเรียนแกลง ” วิทยาสถาวร ” และสร้างโรงฝึกงานรวม ๓ หลัง ( ขณะนี้รื้อถอนแล้ว ๒ หลัง เพราะรัฐบาลได้ช่วยเหลือสร้างให้ใหม่ เป็นหัวหน้าและผู้อุปการะสร้างอาคารโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก รวม ๑๐ ห้อง
พระราชอริยคุณาธารเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ประกอบด้วยคุณธรรมความรู้ความประเสริฐ สมควรยกย่องสรรเสริญและเคารพบูชาอย่างสูงในด้านวัตรปฏิบัติ ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสม่ำเสมอตลอดมา เคยออกปฏิบัติธุดงควัตร ทำกิจสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำทุกวัน ตลอดทั้งลงอุโบสถฆกรรมมิได้ขาด ในด้านการปกครองท่านประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ปราศจากอคติอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งกุลบุตรกุลธิดาที่อยู่ในวัดและในโรงเรียน ให้ประกอบแต่คุณงานความดี มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน จนเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ท่านเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาเป้นอย่างมาก ให้ความสนับสนุนทุกด้าน เช่น เปิดโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกกรรม แผนกบาลี สร้างโรงเรียนประถม สร้างโรงเรียนมัธยม และอุกหนุนเกื้อกูลศิษย์ในความปกครองให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จชั้นสูงมากรายด้วยกัน พระราชอริยคุณาธารป่วยเป็นโรคมะเล็งในลำคอ ได้ไปเยียวยารักษาโดยการฉายรังสีที่โรงพยาบาลศิริราชจนทุเลาและปกติดีได้ประมาณ ๑๐ ปี ต่อมาโรคมะเล็งกำเริบขึ้นอีก จึงเข้าไปฉายรังสีอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ทุเลา ประกอบกับฉันภัตตาหารไม่ใครได้จึงทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย จนขั้นสุดท้ายฉันไม่ได้เลย จึงได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๐๓ . ๐๕ น . ของวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๐๙ (ถ้านับตามหลักโหราศาสตร์ยังคงอยู่ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันเกิดของท่านพอดี ) สิริอายุได้ ๗๘ ปี

2.พระมงคลศีลาจารย์ ( คร่ำ ยโสธโร )
พระอาจิอาจารย์ของจังหวัดระยอง
ชาติภูมิ
พระมงคลศีลาจารย์ มีนามเดิมว่า คร่ำ นามสกุลอรัญวงศ์ เป็นบุตรของนายครวญ นางต้าย อรัญวงศ์ เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ . ศ . ๒๔๔๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ประวัติการศึกษา
ในวัยเด็กหลวงปู่คร่ำเป็นเด็กที่มีไหวพริบเฉลียวฉลาด บิดาจึงได้นำไปฝากกับพระอาจารย์ตรี เจ้าอาวาสวัดวังหว้า ตำบลวังหว้า ได้ศึกษาอักษรสมัยทั้งอักษรไทยและขอม จนอายุครบบวช หลวงปู่จึงได้เข้าอุปสมบทที่วัดวังหว้า โดยพระครูปั้น ( พระครูสังฆการบูรพทิศ ) เจ้าคณะอำเภอแกลง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกากล่ำ ( พระราชอริยคุณราธาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดระยอง ) เจ้าอาวาสวัดพลงช้างเผือก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ . ศ . ๒๔๖๐ ระหว่างบวชได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเมื่ออุปสมบทได้ ๔ พรรษา เจ้าอาวาสวัดวังหว้า ได้มรณภาพลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอาราธนาหลวงปู่คร่ำ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ . ศ . ๒๔๖๕ นอกจากหลวงปู่คร่ำจะเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณและตำหรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถ นำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมสาร ( หลวงปู่โต ) วัดเขากะโดน ซึ่งหลวงปู่โตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้า และวิทยาคมขลังเป็นเลิศต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ร่ำเรียนเรียนมาให้เป็นคุณประโยชน์ต่อญาติโยม และบุคคลทั่วไปนานัปการ จนชื่อเสียงเกยรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ
ผลงาน
พ . ศ . ๒๕๒๓ตั้งมูลนิธิสุตพลวิจิตร ( คร่ำ อรัญวงศ์ ) ปัจจุบันมีเงินทุนทั้งสิ้น ๑ , ๘๐๗ , ๖๔๙ . ๘๔ บาท
พ . ศ . ๒๕๓๐ซ่อมแซมอุโบสถที่ชำรุด เป็นเงิน ๔๐๐ , ๐๐ บาท
พ . ศ . ๒๕๓๑ต่อเติมอาคารเรียนวัดวังหว้า รวม ๒ ห้องเรียน เป็นเงิน ๖๘๐,๐๐๐ บาท
พ . ศ . ๒๕๓๓สร้างวิหารเพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ๓ สมัย เป็นเงิน ๖๘๐,๐๐๐ บาท
พ . ศ . ๒๕๓๔- สร้างกุฏิทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง เป็นเงิน ๘๖๐,๐๐๐ บาท
– หาทุนสร้างอุโบสถวัดวังศิลาธรรมาราม เป็นเงิน ๕,๓๑๕,๖๔๑ บาท พ.ศ. ๒๕๓๕
– สมทบทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลแกลง เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
– จัดหาทุนสมทบสร้างที่ว่าการอำเภอวังจันทร์ เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๓๖
– สร้างกุฏิทรงไทยคอยกรีดเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ๑ หลัง เป็นเงิน ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท
– สร้างอาคารกลางจังหวัดระยอง (อาคาร ๒ ) เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๓๗
– ซื้อที่ดินขยายที่วัด ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๑๔ ตารางวา เป็นเงิน ๘,๖๓๙,๓๗๕ บาท
– ราดยางลานจอดรถ วัดวังหว้า เป็นเงิน ๑,๑๗๕,๐๐๐ บาท
– ชุดสระน้ำวัดวังหว้า เป็นเงิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท
– สมทบทุนมรณะพระมณฑปวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นเงิน ๒๗,๐๐๐, ๐๐๐ บาท
– สร้างอาคารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแกลง เป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
– สมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดวังศิราธรรมาราม เป็นเงิน ๓,๔๘๐,๐๐๐ บาท
– สร้างสถานีอนามัยตำบลวังหว้า เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
– บริจาคเงินสมทบโครงการปลูกป่าเฉริมพระเกียรติ ” สวนป่าอรัญวงศ์ ” อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เป็นเงิน ๒,๓๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๘สร้างวิหารจัตุรมุขคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นเงิน ๙,๖๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๙สร้างอาคารการเปรียญทรงไทย เป็นเงิน ๑๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๐สร้างเจดีย์ พร้อมตกแต่งบริเวณรอบ ๆ เจดีย์วักวังหว้า เป็นเงิน ๑๔,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมค่าก่อสร้าง ปฏิสังขรณ์และบริจาคเพื่อประโยชน์ของทางราชการและสาธารณกุศลเท่าที่สามารถรวบรวมได้ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ ๑๒๘,๗๑๔,๐๒๗ บาท
วัตถุมงคล
ตะกรุดโทน สีผึ่งเมตตามหานิยม ผ้ายันต์ ธงพัดโบก น้ำมันงา และเหรียญแบบต่าง ๆ ฯลฯ
มรณภาพ
หลวงปู่คร่ำได้ปฏิบัติกิจนอมนต์ต่าง ๆ ตลอดมาจนร่างกายเสื่อมโทรม แพทย์ประจำตัวต้องปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดแพทย์จากโรงพยาบาลสมิติเวช อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้ตรวจพบว่าหลวงปู่คร่ำมีเนื้อร้ายที่ลำคอ จึงให้รักษาตัวที่โรงพยาบาลจนในที่สุดเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. หลวงปู่ก็ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลสมิติเวช สิริอายุได้ ๑๐๐ ปี ๑ เดือน ๑๐ วัน
3.พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก)
พระเกติอาจารย์ของจังหวัดระยอง
ชาติภูมิ
พระครูภาวนาภิรัต มีนามเดิมว่า ทิม นามสกุล งานศรี เป็นบุตรของ นายแจ้ นางอินทร์ งานศรี เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๒ ตำบลหลองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ประวัติการศึกษา
เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี บิดาได้นำตัวไปฝากกับท่านพ่อสิงห์ วัดละหารไร่ เพื่อให้ศึกษาเล่าเรียนกับท่านอยู่ได้ประมาณ ๑ ปี ก็มีความรู้ความสามารถเขียนอ่านหนังสือได้คล่องแคล่ว บิดาจึงขอให้กลับมาอยู่ที่บ้านตามเดิมเมื่อมีอายุครบบวช จึงได้ทำการอุปสมบท ณ วัดละหารไร่ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับปีมะเมีย ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนหก โดยมีพระครูขาววัดทับมา เป็นพระอุปัชฌายะ และพระอาจารย์สิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ” อิสริโก ” เมื่อท่านบวชได้ประมาณ ๑ พรรษาได้ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา ๓ ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ออกธุดงค์ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมต่าง ๆ กับพระภิกษุและฆราวาส เช่น หลวงปู่สังข์ วักเก๋งจีน ปรมาจารย์ผู้เรืองเวทย์อย่างยิ่งในสมัยนั้น เคยมีผู้เล่าว่า หลวงปู่สังข์องค์นี้มีคาถาอาคมเก่งกล้าขนาด ” นำลายที่ท่านถ่มลงถูกพื้น พื้นยังแตก ” และบรรดาตำรับตำราต่าง ๆ หลวงปู่สังข์ท่านได้ทิ้งไว้ที่วัดละหารไร่ ส่วนใหญ่หลวงปู่ทิมก็ได้ศึกษาวิทยาคมจากตำราของหลวงปู่สังข์นี้ นากจากนี้หลวงปู่ยังได้ศึกษาทางวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายท่าน
ผลงาน
เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหารอีกหลายอย่าง รวมทั้งอุโบสถ โรงเรียนวัดละหารไร่ สะพานข้ามคลองหลายแห่ง
พ.ศ. ๒๔๗๘ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน ที่พระครูทิม อิสริโก
พ.ศ. ๒๔๗๙ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี มีราชทิมนามว่า ” พระครูภาวนาภิรัต ”
พ.ศ. ๒๕๐๗เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทในราชทินนามเดิม เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
วัตถุมงคล
ตะกรุดโทน สีผึ้งเมตตามหานิยม ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่าง ๆ ฯลฯ
มรรณภาพ
หลวงปู่ทิมมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ณ. หน้าหอสวดมนต์วัดละหารไร่ หลังจากที่ไดเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จ ณ. ศรีราชา เป็นเวลา ๒๓ วัน สิริอายุ ๙๖ ปี พรรษา ๖๙
4.พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล ( ไพฑูรย์ ฐิตเปโม )
ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้ายวัฒนธรรม
ชาติภูมิ
พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล มีนามเดิมว่า ไพฑูรย์ นามสกุล ธรรมสนิท เป็นบุตรของนายฉิม นางเอื้อน ธรรมสนิท เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ประวัติการศึกษา
จบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดชากมะกรูด เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๔
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๓๗๖
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๔๙๑ คุณวุฒิ นักธรรมเอก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ความรู้พิเศษ
๑. มีความรู้ด้านการแต่งโคลงฉันท์ กาพย์ กลอน และบทกวีต่าง ๆ ๒. มีความรู้ด้านการก่อสร้าง
ผลงาน
พ . ศ . ๒๕๑๐แต่งหนังสือคติพจน์คำร้อยกรอง
พ . ศ . ๒๕๑๖แต่งหนังสือนิยมไทยคำกลอน
พ . ศ . ๒๕๑๙แต่งหนังสือทางศาสนา ชื่อ มงคลชีวิต
พ . ศ . ๒๕๒๗ได้รับการยกย่องเป็นภู่บริหารโรงเรียนปริยัติธรรมดีเด่นระดับชาติ
พ . ศ . ๒๕๓๐แต่งหนังสือสารคดี ๑๔ วันในอินเดีย และนิราศอินเดีย
พ . ศ . ๒๕๓๔-แต่งหนังสือทางศาสนา ชื่อ พระพุทธศาสนสุภาษิตคำกลอน เล่ม ๑ – ๓ เตมีย์คำฉันท์ พระมหาชนกคำฉันท์ สุวรรณสามคำฉันท์ และเนมิราชคำฉันท์
-ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และเสมาธรรมจักรยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ ทำคุณประโยชน์ต่อพุทธศาสนาด้านส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรมดีเด่นจาก กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ . ศ . ๒๕๓๕แต่งหนังสือนิราศเมืองเหนือ
พ . ศ . ๒๕๓๖-แต่งหนังสือนิราศอีสาน
-ได้รับการประกาศยกย่องเป็นกวีจังหวัดระยอง
พ . ศ . ๒๕๓๗-สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการได้ ประการเชิดชูเกียรติว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ ( ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ) ได้รับพระราชทานโล่และเกียรติบัตรจากพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
-แต่งหนังสือนิราศเมืองใต้
5.พระสุนทรโวหาร ( ภู่ )
ชาติภูมิ พระสุนทรโวหาร มีนามเดินว่า ภู่ เป็นบุตรของนายพลับ นางช้อย เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ . ศ . ๒๓๒๙ ( จุลศักราช ๑๑๔๘ ) กรุงเทพมหานครสุนทรภู่เกิดในสมัยรัชการที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ฝ่ายมารดาเป็นชาวเมืองอื่นที่มาอาศัยอยู่ด้วยกันในกรุงเทพฯ สุนทรภู่เกิดหลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๔ ปี ต่อมาบิดามารดาหย่าขาดจากกันตั้งแต่สุนทรภู่ยังเป็นเด็ก บิดาได้หวนกลับมาบ้านเกิดโดยมาบวชอยู่ที่เมืองแกลง ฝ่ายมารดาได้สามีใหม่มีลูกผู้หญิง ๒ คน ชื่อฉิมและนิ่ม ภายหลังมารดาได้เป็นนางนม พระธิดาในกรมพระราชวังหลัง เพราะเหตุนี้เองที่สุนทรภู่ได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ตั้งแต่เด็ก
ประวัติการศึกษา สุนทรภู่เริ่มเล่าเรียนในสำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ริมครองบางกอกน้อยพอรู้หนังสือก็ได้ทำงานเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน แต่อุปนิสัยที่ชอบการแต่งกลอนเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ใคร่ชอบการทำงานจึงได้กลับมาอยู่ที่พระราชวังหลังอย่างเดิม ด้วยความที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ทำให้สุนทรภู่เกิดความคึกคะนอง ขึ้นไปลักลอบรักใคร่กับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ ” จัน ” ทำให้เจ้ากรมพระราชวังกริ้วมาก จึงให้เวรจำทั้งหญิงชาย แต่ติดเวรจำอยู่ไม่นานสุนทรภู่ก็พ้นโทษในปี พ . ศ . ๒๓๔๙ อายุจะอยู่ในราว ๒๑ ปี จึงออกติดตามหาบิดาซึ่งบวชอยู่ที่บ้านกร่ำเมืองแกลง โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในเดือน ๗ ด้วยเรือประทุน มีศิษย์ตามมาด้วย ๒ คน พร้อมกับชาวเมืองระยองซึ่งรับหน้าที่เป็นคนนำทางไปทางคลองสำโรงและคลองศีรษะจระเข้ ออกปากน้ำบางประกงไปขึ้นบกที่บ้านบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี แล้วเดินทางบกต่อไป เมื่อสุนทรภู่มาถึงเมืองระยองคนที่นำทางได้หลบหนีไป ปล่อยให้สุนทรภู่ถามหนทางจากชาวบ้านเอง จนถึงวัดที่บิดาบวชอยู่ซึ่งขณะนั้นบิดาได้บวชมาแล้ว ๒๐ พรรษา ด้วยเวลานั้นสุนทรภู่อายุควรอุปสมบท บิดาจึงได้จับบวชเพื่อล้างความอัปมงคลที่ถูกจองจำด้วย แต่บวชไม่ได้เพราะป่วยเป็นไข้ รักษาพยาบาลอยู่กว่าเดือนจึงหาย เมื่อหายแล้วจึงเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ในเดือน ๙ รวมเวลาที่สุนทรภู่ออกมาเมืองแกลงคราวนั้น ราว ๓ เดือนเศษ
ผลงาน
พ . ศ . ๒๓๕๐ แต่งนิราศเมืองแกลง , นิราศพระบาท
พ . ศ . ๒๓๕๘ แต่งพระอภัยมณี , สิงหไตรภพ , ลักษณวงษ์
พ . ศ . ๒๓๖๗ แต่งขุนช้างขุนแผน , สวัสดิรักษา
พ . ศ . ๒๓๗๑ แต่งนิราศภูเขาทอง
พ . ศ . ๒๓๗๓ แต่งเพลงยาวถวายโอวาท
พ . ศ . ๒๓๗๕ แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า ( เณรพัด ) นิราศอิเหนา
พ . ศ . ๒๓๗๙ แต่งนิราศเมืองสุพรรณบุรี ( โคลง )
พ . ศ . ๒๓๘๓ แต่งกาพย์พระไชยสุริยา สุภาษิตสอนหญิง
พ . ศ . ๒๓๘๕ แต่งนิราศพระประธม รำพันพิลาป
พ . ศ . ๒๓๙๒ แต่งนิราศเมืองเพชรบุรี พ . ศ . ๒๕๒๙ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( ยูเนสโก ) ได้ประกาศยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรร